วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

วารสารชมรมศิษย์โกมารภัจจ์ ฉบับ เดือนมกราคม 2554 SITGOMARAPHAT JOURNALS JANUARY,1 2011

ทักทาย

          สวัสดีเพื่อนสมาชิกชมรมศิษย์โกมารภัจจ์ทุกท่านค่ะ  วารสารของชมรมฉบับนี้ขอรวบรวมผลการดำเนินงานของชมรมฯ ในเดือนธันวาคม และเดือนมกราคมที่ผ่านมาทั้งหมดไว้ในวารสารฉบับเดียวกันนะคะ  ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาทางชมรมฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ ของสำนักงานเขตดอนเมืองระหว่างวันที่ ๓-๕ ธันวาคม ๒๕๕๓, งานของขวัญของฝาก บริเวณสนามศุภชลาศัย หน้าอาคารนิมิบุตร ระหว่างวันที่ ๒๔-๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๓, กิจกรรมทำบุญ ๙ วัด หน้าศาลหลักเมือง เขตพระนคร  วันที่ ๑-๓ มกราคม ๒๕๕๔ และ งานประจำปี วัดตะพาน เขตดินแดง วันที่ ๑๒-๑๕ มกราคม ๒๕๕๔
          ภายในงานทางชมรมฯ ได้คัดสรรสมุนไพรที่มีคุณค่าหลากหลาย เช่น กระชายดำ ไพล ว่านชักมดลูก ผลมะตูมสด กระเจี๊ยบสด  ดอกเฌอเอม (หายาก) รวมไปจนถึงสมุนไพรโพธิ์ดาว สมุนไพรคุณภาพจาก หมอเหรียญ โพธิ์ดาว อีกทั้งยังมีบริการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า นวดแก้อาการ เคล็ด ขัด ยอก และยังคงทำการเผยแพร่ข้อมูลสมุนไพรที่มีประโยชน์ให้กับประชาชนที่สนใจโดยทั่วไปเช่นเคยค่ะ
         และในช่วงเดือนธันวาคม และเดือนมกราคมนั้น เราจะสามารถหาซื้อสมุนไพรที่สำคัญได้หลายชนิดค่ะ ทางชมรมฯ จึงนำคุณประโยชน์ของสมุนไพรดังกล่าวมาให้เพื่อนสมาชิกได้ทราบค่ะ นั่นคือ กระชายดำ และ กระเจี๊ยบแดงสด โดยกระชายดำนั้นเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่นในเรื่องบำรุงกำลัง เลือดลม ซึ่งเราสามารถหารับประทานหัวสดได้ในช่วงหน้าหนาวปลายปีค่ะ มีปลูกเป็นจำนวนมากบนดอย หรือพื้นที่ราบสูง อากาศค่อนข้างหนาวเย็น และกระเจี๊ยบแดงนั้น เราจะนำกลีบรองฐานดอกมาต้มน้ำรับประทาน มีสรรพคุณในการบำรุงโลหิต (สตรี) และช่วยขยายหลอดเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ค่ะ  สรรพคุณที่เล่ามานั้นยังเป็นส่วนน้อยในประโยชน์มากมายของสมุนไพรทั้งสองชนิดนะค่ะ  อย่ารอช้าเลยดีกว่านะคะ เราไปดูเรื่องราวดี ๆ ของสมุนไพรกันเลยค่ะ    แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ


กระชายดำ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia pafiflora
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน รากสะสมอาหารมีลักษณะเป็นปุ่ม ๆ ไม่ยาวเป็นหางไหลเหมือนกับกระชายธรรมดา ขณะต้นเล็ก จะมีแต่รากและรากนั้นเองจะเปลี่ยนเป็นหัวเมื่อโตขึ้น เนื้อในหัวอาจเป็นสีม่วงหม่น หรือสีดำดังผลลูกหว้าขึ้นอยู่กับดินที่ใช้ แต่ถือกันว่ากระชายดำที่มีคุณสมบัติที่ดีต้องสีดำสนิท
ใบ     เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับคล้ายกระชายธรรมดา แต่มีใบใหญ่และเขียวเข้มกว่า ผลิแทงม้วนเป็นกรวยขึ้นมาจากรากไม่มีต้น
ดอก     จะออกดอกจากยอดของต้น ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ริมปากดอกสีขาว เส้นเกสรสีม่วง และเกสรสีเหลือง
สรรพคุณทางยา
กระชายดำ เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูงจัดได้ว่า
เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้คึกคักกระชุ่มกระชวย
ช่วยสร้างความสมดุย์ของความดันโลหิตให้ไหลเวียนดีขึ้น
ผิวพรรณผุดผ่องสดใสและแก้โรคบิดแก้ปวดท้องเป็นต้น
สำหรับสุภาพสตรีช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวลแก้ตกขาว
ขยายหลอดเลือดขจัดไขมันในหลอดเลือดโรคกระเพาะ
ความดันโลหิตสูง,เบาหวาน,โรคหัวใจ..อื่นๆ
สรรพคุณ
- บำรุงฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ชายเหนือชาย
- กระตุ้นประสาท ทำให้กระชุ่มกระชวย
- บำรุงกำลัง
- เป็นยาอายุวัฒนะ ชลอความแก่
- ขับลม ขับปัสสาวะ
- แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
- แก้โรคกระเพาะอาหาร
- บำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ


กระเจี๊ยบแดง


ชื่อวิทยาศาสตร์ :Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ : Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ :
  • กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
1.      เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
2.      ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
3.      น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
4.      ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
5.      น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
6.      ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
7.      เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
8.      เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

  • ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ  ขัดเบา  ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
  • เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น